ศัพท์เศรษฐกิจในประวัติศาสตร์ไทย
“ภาษีอากร”
ภาษีอากรแบ่งออกเป็นทั้งหมด4ลักษณะคือ
1. จังกอบหรือจกอบ
จังกอบคือภาษีผ่านด่านที่เรียกเก็บจากพ่อค้าซึ่งนำสินค้าเข้ามาขายในเมือง โดยการตั้งเป็นด่านคอยเก็บภาษีทั้งทางบกและทางน้ำเรียกว่า ด่านขนอน โดยจะเก็บเป็นสิ่งของหรือสินค้าในอัตราร้อยละสิบหรือสิบหยิบหนึ่ง หรือสิบชักหนึ่ง หรือสินค้า 10 ชิ้นเก็บ 1 ชิ้นเป็นต้น ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้มีการเก็บจังกอบตามขนาดหรือความกว้างของปากเรือ โดยเก็บวาละหนึ่งบาทเรียกว่าภาษี ปากเรือ ส่วนสินค้าในเรือจะเก็บภาษีจังกอบร้อยละ 10 อีกทอดหนึ่งด้วย

2. อากร
อากร คือ รายได้ที่เก็บจากการประกอบอาชีพของประชาชนจากอาชีพต่างๆ ได้แก่
· อากรค่านา เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบอาชีพทำนาในครั้งแรกนั้นจะเก็บโดยคิดจากเนื้อที่ทำนามากน้อยต่างกัน ซึ่งจะเก็บเป็นข้าวเปลือกเรียกว่า ภาษีหางข้าว ราษฏรจะนำข้าวเปลือกเหล่านั้นมาเก็บไว้ฉางหลวง
ในการเก็บภาษีค่านาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เปลี่ยนจาการเก็บภาษีหางข้าวมาเก็บเป็นเงินโดยคิดไร่นา 25 สตางค์
· อากรสมพัตร เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบอาชีพทำไร่ประเภทไม้ล้มลุก เช่น ข้าวโพด ยาสูบ อ้อย มันเทศ ถั่วงา และกล้วย เป็นต้น
· อากรสวน เป็นภาษีที่เกิดนจากประชาชนที่มีสวนผลไม้ประเภทยืนต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ทางราชการจะออกสำรวจและขึ้นบัญชีไว้ว่า ใครมีต้นไม้อะไร จำนวนเท่าใด แล้วจะส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บจากเจ้าของสวนผลไม้นั้นอย่างเช่นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเก็บเป็นเงิน เช่นมะพร้าวเก็บต้นละ 2สลึง สัม มะม่วง มังคุด ต้นละหนึ่งบาท ทุเรียนถ้ามีผลก็เก็บต้นละหนึ่งบาท ส่วนต้นที่ไม่มีลูกผลเก็บต้นละสองสลึง เป็นต้น
· อากรตลาด เป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากร้านค้าและผู้มาค้าขายภายในตลาด ซึ่งตลาดเหล่านี้มีทั้งของทางราชการ และของเอกชน
· อากรค่าน้ำ เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ประกอบอาชีพประมงทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยการเก็บเป็นเงินจากการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการจับปลาและจะเก็บแตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องมือนั้นเช่น สวิง โป๊ะ โพงพาง แห ฉมวก เป็นต้น
· อากรบ่อนเบี้ย เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขออนุญาตตั้งบ่อการพนัน ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญอีกอย่างหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
· อากรสุรา เป็นการเก็บภาษีผู้ที่ประกอบอาชีพในการต้มกลั่นสุรา หรือจากผู้ผลิตสุรา
ส่วย คือรายได้ที่เป็นเงินหรือสิ่งของที่บุคคลผู้ที่มีหน้าที่ส่งส่วยนำมามอบให้กับทางราชการซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทดังนี้คือ
· เครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งที่ประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามที่เมืองหลวงกำหนด เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุก ๆปี หรือทุก ๅ 3 ปีซึ่งเครื่องราชบรรณาการเหล่านี้ส่วนใหญ๋ได้แก่ของหายาก และมีมากในเมืองนั้น ๆ
· ส่วยแทนแรง เป็นเงินหรือสิ่งของที่เก็บจากชายไทยทุกคนที่มีอายุ 18 - 60 ปี แทนที่จะต้องถูกเกณฑ์แรงงานหรือเข้าทำงานให้ราชการซึ่งเรียกว่า เข้าเวร ปีละ 6 เดือน หรือเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือนสำหรับสิ่งของที่หายากและจำเป็น เช่นดีบุก มูลค้างคาว ครั่ง ของป่า ฯลฯ(ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้ถูกเกณฑ์จะจ่ายเป็นเงินก็ได้โดยจ่ายให้กับทางราชการแทนการเข้าเวรเดือนละ 2 บาท เป็นต้น)
· พัทธยา คือทรัพย์สินที่ทางราชการริบจากเอกชนที่กระทำผิด หรือผู้ตายทิ้งทรัพย์สมบัติไว้มากเกินกว่าฐานะที่ควรจะมีทางรัฐจะริบไว้จากส่วนเกินการริบทรัพย์ในลักษณะนี้ว่าริบราชบาตร
· เกณฑ์เเฉลี่ย ได้แก่ การเกณฑ์แรงงานเกณฑ์เงินหรือสิ่งของที่ราชการต้องการซึ่งจะของความร่วมมือจากราษฏรเป็นกรณีพิเศษ
4.ฤชา
ฤชา คือเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ทางราชาการเรียกเก็บจากราษฏรเป็นค่าบริการที่ราษฏรมาติดต่อขอให้ทางราชการในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การออกโฉนดตราสาร ค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องต่อศาลค่าธรรมเนียมในการต่อเรือ ฯลฯ

No comments:
Post a Comment