Thursday, January 12, 2012

การแลกเปลี่ยน

การแลกเปลี่ยน

                                                                                                                                    
การแลกเปลี่ยน (Exchange) คือ การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินค้าสิ่งของและบริการ โดยอาจจะนำมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือวิธีการใด ๆ ก็ได้
วิวัฒนาการของระบบการแลกเปลี่ยน  แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ     

1.การแลกเปลี่ยนโดยตรง Barter System  (ของแลกของ)
               ในสมัยโบราณการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคแรกๆ อาศัยการล่าสัตว์  เก็บผลไม้และอาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ละคนแต่ละครอบครัวทำทุกอย่างด้วยตนเอง  ต่อมาสังคมมนุษย์ขยายใหญ่ขึ้นมนุษย์เริ่มรู้จักทำการเพาะปลูก จับสัตว์มาเลี้ยง และสร้างที่อยู่อาศัย จึงเริ่มมีการแบ่งหน้าที่ทำตามความถนัดของแต่ละคน และนำของที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวผลิตได้มาแลกกันเพื่อสนองความต้องการเช่น นายดำปลูกข้าวแต่มีความต้องการเนื้อไก่ นายแดงเลี้ยงไก่ แต่มีความต้องการข้าว ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนายดำกับนายแดงที่มีความต้องการตรงกัน แต่ระบบการแลกเปลี่ยนของแลกของ ในการปฎิบัติมีความยุ่งยากเกิดขึ้นหลายประการซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้
                    3.1.1 ความต้องการของแต่ละคนไม่ตรงกันในการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของนั้นความต้องการของทั้งสองฝ่ายจะต้องตรงกัน จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้                                                                               
                    3.1.2 เสียเวลาและไม่สะดวกในการขนส่ง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ จำเป็นต้องขนของที่ตนเองมีอยู่เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องเดินทางไกล จนกว่าจะพบผู้ที่ต้องการตรงกัน ทำให้เสียเวลาในการขนส่งและถ้าของที่จะนำไปแลกเปลี่ยนนั้นเป็นของใหญ่ มีน้ำหนักมากจะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการขนส่งอีกด้วย
                    3.1.3 ของบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ของแต่ละอย่างมีอายุไม่เท่ากัน ของบางอย่างอายุยาวสามารถเก็บได้นาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม เสื้อ เครื่องมือเครื่องใช้แต่ของบางอย่างอายุสั้นไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ จึงไม่เหมาะสมสำหรับเก็บไว้เพื่อแลกเปลี่ยนในอนาคต เพราะของจะแปลสภาพ ทำให้มูลค่าของสิ่งของนั้นหมดไป
                    3.1.4 ของบางอย่างไม่สามารถแบ่งย่อยได้ การแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของไม่สะดวกในการแลกเปลี่ยนที่ไม่พอดีกันในปริมาณ





 




2.การใช้เงืนเป็นเสื่อกลางการแลกเปลี่ยน(Exchange System with money)                                         

                เนื่องจากการแลกเปลี่ยน โดยใช้ของแลกของประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นมนุษย์จึงหาวิธีการแลกเปลี่ยนที่สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้ โดยการกำหนดสิ่งของบางอย่างขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยเรียกสิ่งนั้นว่า "เงิน"
                     เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมนั้นยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในขณะใดขณะหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งในแต่ละสังคมอาจจะใช้สิ่งใดแทนเป็นเงินก็ได้ โดยแต่ละสังคมอาจไม่เหมือนกัน สิ่งที่ใช้เป็นเงินตั้งแต่อดีต เช่น หนังสัตว์ เปลือกหอย อัญมณี ใบชา สัตว์ เกลือ เป็นต้น  








3. การแลกเปลี่ยนโดยใช้เครดิต





                     เครดิต คือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ในระยะแรกๆ เครดิตเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ขายมีความเชื่อถือให้ผู้ซื้อนำสินค้าไปก่อน และจ่ายเงินในภายหลังต่อมาเครดิตก็มีการพัฒนาขึ้นโดยการซื้อขายเป็นเงินเชื่อ จนมีการใช้เอกสารเครดิตเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลักฐานประกอบด้วย เช่น บัตรเครดิต ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร  หุ้นกู้ และมีการพัฒนาเครดิตจากการขายเชื่อเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว


Wednesday, January 11, 2012

ตลาดปสาน

ตลาดปสาน



การพัฒนาทางด้านการค้าขาย ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยแม้จะไม่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าแต่ความพยายามของผู้ปกครองที่จะส่งเสริมการค้าขายเพื่อหารายได้ชดเชยด้านการเกษตรกรรมที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นักทำให้การค้าของอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง ทั้งการค้าภายในประเทศและการค้ากับต่างประเทศซึ่งขอแยกพิจารณาดังนี้

1 การค้าภายในประเทศ ลักษณะการค้าภายในประเทศในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรไม่ทราบชัดเจน แต่มีข้อความปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ตอนหนึ่งว่า “…เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยมีตลาดป(สา)น มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากกลาง มีไร่นา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่เร…” คำว่า “ ปสาน “ แปลว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน ภาษาเปอร์เชียว่า “ บาซาร์ “ แสดงให้เห็นว่าในเมืองสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับประชาชนซื้อขายสินค้ากัน ตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมชน เพราะปรากฎข้อความในจารึกว่ามีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจำแล้ว เชื่อว่าคงมีตลาดชนิดที่เรียกว่า “ ตลาดนัด “ ด้วย สำหรับการซื้อขายประจำวันโดยปกติคงทำกันที่ตลาดปสาน โดยพ่อค้าแม่ค้ามีร้านขายสินค้าอยู่ในตลาดนั้น ประชาชนต้องการสิ่งของอะไรก็ไปที่ร้านขายของตลาดปสานซื้อหาได้ทันที

2 การค้ากับต่างประเทศ การค้ากับต่างประเทศในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “ สังคโลก “ เริ่มเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ปรากฎในช่วงที่ตรงกับสมัยนี้จีนประสบอุปสรรคในการส่งสินค้าเครื่องปั้นดินเผาออกนอกประเทศ ทั้งนี้เพราะจีนเกิดสงครามกลางเมือง มีการเปลี่ยนราชวงศ์จากซ้องมาเป็นมองโกลแล้วก็เปลี่ยนราชวงศ์เหม็ง สงครามอันยาวนานนี้ทำให้จีนปั่นป่วนเกิดความอดอยาก ทั้งมีโรคระบาดและน้ำท่วม เมื่อบ้านเมืองวุ่นวายโจรผู้ร้ายก็ชุกชุม อีกทั้งชายฝั่งทะเลของจีนยังถูกโจรสลัดญี่ปุ่นรบกวนอีกด้วย ทำให้จีนไม่สามารถผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของตนได้และก็ไม่สามารถส่งออกจำหน่าย่ต่างประเทศอีกด้วย ในช่วงนี้เป็นช่วงที่สุโขทัยจะเข้ายึดการค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนมา สุโขทัยคงจะสร้างงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาโดยอาศัยความช่วยเหลือจากช่างเทคนิคของจีน ดังนั้น ลักษณะบางประการของเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย จึงมีอิทธิพลของจีนอย่างมาก และสามารถนำไปขายในตลาดในฐานะแทนของจีนที่ขาดตลาดไป สำหรับเส้นทางทางการค้ากับต่างประเทศมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

2.1 เส้นทางขนส่งทางบก ประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 3 สายคือ
1. เส้นทางทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตากไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางสายนี้อาจจะใช้เส้นทางที่เรียกว่า “ ถนนพระร่วง “ เลียบตามลำแม่น้ำยมและเลียบที่ราบ “ คุ้มแม่สอด “ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างเมืองสุโขทัยกับเมืองหงสาวดีตั้งแต่สมัยโบราณ

2. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองกุยบุรี เมืองมะริด ไปถึงตะนาวศรี

3. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน ขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย

2.2 เส้นทางขนส่งทางน้ำ สินค้าที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาจะถูกบรรทุกลงเรือขนาดเล็กล่องจากเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัยไปตามแม่น้ำยมลงไปถึงเมืองพระบาง เมืองชัยนาท และกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นจะบรรทุกสินค้าลงเรือขนาดใหญ่ส่งไปขายต่างประเทศ เส้นทางขนส่งทางน้ำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาลงไปประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 4 สาย ดังนี้คือ

1. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองต่าง ๆ ในหมู่เกาะริวกิว โดยเริ่มจากสันดอน ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย ผ่านสมุทรปราการ เกาะสีชัง พัทยา สัตหีบ ตราด กัมพูชา จาม เวียดนาม และตัดตรงผ่านทะเลจีนใต้ไปยังหมู่เกาะริวกิว หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือสำเภา โบราณที่สัตหีบ เรือสำเภาที่เกาะกระดาด และซากเรือสำเภาโบราณที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี

2. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังหมู่เกาะพิลิปปินส์ โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทยตรงไปสัตหีบ แล้วตัดตรงไปยังเมืองปัตตานี และเมืองมะละกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ หลังจากนั้นมีเส้นทางต่อไปยังหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะเชเลเซย์ และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ การขนส่งตามเส้นทางนี้ต้องใช้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เพราะการเดินทางใช้เวลานาน

3. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองสงขลา โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย แต่น่าจะใช้เรือขนาดกลางบรรทุกเครื่องปั้นดินเผาไปขายแก่พ่อค้าชาวต่างประเทศ่ตามเมืองท่าสำคัญทางชายฝั่งทะเลด้าน่ตะวันออกของอ่าวไทย เช่นเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลา หลักฐานโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือโบราณที่เมืองนครศรีธรรมราชและซากเรือสำเภาโบราณที่เมืองสงขลา

4. เส้นทางจากเมืองสุพรรณบุรีไปยังเมืองสงขลา โดยเริ่มจากเมืองสุพรรณบุรีไปออกทะเลที่เมืองสมุทรสาคร และผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคิรีขันธ์ เมืองสทิงพระ และเมืองสงขลา
การค้ากับ่ต่างประเทศนอกจากจะเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว น่าจะเจริญอีกครั้งในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แต่เมื่อกรุงศรีอยุธยาประกาศเป็นศัตรูกับอาณาจักรสุโขทัยแล้ว กิจการการค้ากับต่างประเทศก็ลดความสำคัญลง แต่อย่างไรก็ตาม การค้าเครื่องปั้นดินเผายังดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา

ศัพท์เศรษฐกิจในประวัติศาสตร์ไทย "ภาษีอากร"

ศัพท์เศรษฐกิจในประวัติศาสตร์ไทย
“ภาษีอากร”
ภาษีอากรแบ่งออกเป็นทั้งหมด4ลักษณะคือ

1. จังกอบหรือจกอบ       

จังกอบคือภาษีผ่านด่านที่เรียกเก็บจากพ่อค้าซึ่งนำสินค้าเข้ามาขายในเมือง โดยการตั้งเป็นด่านคอยเก็บภาษีทั้งทางบกและทางน้ำเรียกว่า ด่านขนอน โดยจะเก็บเป็นสิ่งของหรือสินค้าในอัตราร้อยละสิบหรือสิบหยิบหนึ่ง หรือสิบชักหนึ่ง หรือสินค้า 10 ชิ้นเก็บ 1 ชิ้นเป็นต้น  ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้มีการเก็บจังกอบตามขนาดหรือความกว้างของปากเรือ โดยเก็บวาละหนึ่งบาทเรียกว่าภาษี ปากเรือ ส่วนสินค้าในเรือจะเก็บภาษีจังกอบร้อยละ 10 อีกทอดหนึ่งด้วย





2. อากร                       

อากร คือ รายได้ที่เก็บจากการประกอบอาชีพของประชาชนจากอาชีพต่างๆ ได้แก่
·       อากรค่านา  เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบอาชีพทำนาในครั้งแรกนั้นจะเก็บโดยคิดจากเนื้อที่ทำนามากน้อยต่างกัน ซึ่งจะเก็บเป็นข้าวเปลือกเรียกว่า ภาษีหางข้าว ราษฏรจะนำข้าวเปลือกเหล่านั้นมาเก็บไว้ฉางหลวง  
ในการเก็บภาษีค่านาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เปลี่ยนจาการเก็บภาษีหางข้าวมาเก็บเป็นเงินโดยคิดไร่นา 25 สตางค์
·       อากรสมพัตร เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบอาชีพทำไร่ประเภทไม้ล้มลุก เช่น ข้าวโพด ยาสูบ อ้อย มันเทศ ถั่วงา และกล้วย เป็นต้น

·       อากรสวน เป็นภาษีที่เกิดนจากประชาชนที่มีสวนผลไม้ประเภทยืนต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ทางราชการจะออกสำรวจและขึ้นบัญชีไว้ว่า ใครมีต้นไม้อะไร จำนวนเท่าใด แล้วจะส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บจากเจ้าของสวนผลไม้นั้นอย่างเช่นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะเก็บเป็นเงิน เช่นมะพร้าวเก็บต้นละ 2สลึง สัม มะม่วง มังคุด ต้นละหนึ่งบาท ทุเรียนถ้ามีผลก็เก็บต้นละหนึ่งบาท ส่วนต้นที่ไม่มีลูกผลเก็บต้นละสองสลึง เป็นต้น
·       อากรตลาด เป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากร้านค้าและผู้มาค้าขายภายในตลาด ซึ่งตลาดเหล่านี้มีทั้งของทางราชการ และของเอกชน
·       อากรค่าน้ำ เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ประกอบอาชีพประมงทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยการเก็บเป็นเงินจากการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการจับปลาและจะเก็บแตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องมือนั้นเช่น สวิง โป๊ะ โพงพาง แห ฉมวก เป็นต้น
·       อากรบ่อนเบี้ย เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขออนุญาตตั้งบ่อการพนัน ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญอีกอย่างหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
·       อากรสุรา เป็นการเก็บภาษีผู้ที่ประกอบอาชีพในการต้มกลั่นสุรา หรือจากผู้ผลิตสุรา



3. ส่วย                           

ส่วย คือรายได้ที่เป็นเงินหรือสิ่งของที่บุคคลผู้ที่มีหน้าที่ส่งส่วยนำมามอบให้กับทางราชการซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทดังนี้คือ
·       เครื่องราชบรรณาการ   เป็นสิ่งที่ประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามที่เมืองหลวงกำหนด เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุก ๆปี หรือทุก ๅ 3 ปีซึ่งเครื่องราชบรรณาการเหล่านี้ส่วนใหญ๋ได้แก่ของหายาก และมีมากในเมืองนั้น ๆ
·       ส่วยแทนแรง  เป็นเงินหรือสิ่งของที่เก็บจากชายไทยทุกคนที่มีอายุ 18 - 60 ปี แทนที่จะต้องถูกเกณฑ์แรงงานหรือเข้าทำงานให้ราชการซึ่งเรียกว่า เข้าเวร ปีละ 6 เดือน หรือเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือนสำหรับสิ่งของที่หายากและจำเป็น เช่นดีบุก มูลค้างคาว ครั่ง ของป่า ฯลฯ(ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้ถูกเกณฑ์จะจ่ายเป็นเงินก็ได้โดยจ่ายให้กับทางราชการแทนการเข้าเวรเดือนละ 2 บาท เป็นต้น)
·       พัทธยา  คือทรัพย์สินที่ทางราชการริบจากเอกชนที่กระทำผิด หรือผู้ตายทิ้งทรัพย์สมบัติไว้มากเกินกว่าฐานะที่ควรจะมีทางรัฐจะริบไว้จากส่วนเกินการริบทรัพย์ในลักษณะนี้ว่าริบราชบาตร
·       เกณฑ์เเฉลี่ย ได้แก่ การเกณฑ์แรงงานเกณฑ์เงินหรือสิ่งของที่ราชการต้องการซึ่งจะของความร่วมมือจากราษฏรเป็นกรณีพิเศษ



4.ฤชา                                            

ฤชา คือเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ทางราชาการเรียกเก็บจากราษฏรเป็นค่าบริการที่ราษฏรมาติดต่อขอให้ทางราชการในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การออกโฉนดตราสาร ค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องต่อศาลค่าธรรมเนียมในการต่อเรือ ฯลฯ